ถังเก็บสารเคมีคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

31 ต.ค. 2566


คุณลักษณะของถังเก็บสารเคมีที่ปลอดภัยต้องเลือกอย่างไร

ถังเก็บสารเคมีคืออะไร เลือกอย่างไรดี

บรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมีที่ใช้กันทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจขนาดย่อย ซึ่งลักษณะของถังเก็บสารเคมีจะมีการออกแบบให้มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ถูกกัดกร่อนได้ง่าย เพื่อป้องกันการรั่วไหลและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ ถังพลาสติกสำหรับสารเคมี ที่นิยมใช้กัน โดยส่วนมากจะผลิตจากเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือ เม็ดพลาสติก HDPE มาผลิตถังเก็บสารเคมี เนื่องจากมีคุณสมบัติเหมาะสมในเรื่องความแข็งแรง และทนทานต่อสารเคมีได้สูง

ถังเก็บสารเคมีคืออะไร

ถังเก็บสารเคมี คือ บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุสารเคมีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการรั่วไหลและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำถังสารเคมีมีหลากหลายประเภทและหลายขนาด ขึ้นอยู่กับประเภทของสารเคมีและการใช้งาน

สำหรับการออกแบบถังเก็บสารเคมีมักจะยึดตามมาตรฐาน API 650 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ระบุข้อกำหนดขั้นต่ำในการออกแบบสารเคมี เพื่อที่จะเก็บรักษาสารเคมีได้อย่างปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนและสิ่งแวดล้อม โดยสารเคมีแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติการกัดกร่อน ความไวไฟ และความเป็นพิษที่แตกต่างกันออกไป ผู้ใช้งานจึงต้องเลือกถังเก็บสารเคมีตามความเหมาะสม เราสามารถแบ่งประเภทของถังเก็บสารเคมีออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ถังเก็บสารเคมีอันตราย มักใช้เก็บสารเคมีที่ไวไฟ เป็นพิษ เป็นกรดหรือด่าง 
  • ถังเก็บสารเคมีทั่วไป มักใช้เก็บน้ำ น้ำมัน แก๊ส 

 ขนาดของถังเคมีจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเล็ก (1-10 ลิตร) ขนาดกลาง (10-100 ลิตร) และขนาดใหญ่ (100-1,000 ลิตร) ซึ่งหากเป็นการเก็บสารเคมีขนาดใหญ่ จะต้องทำตามคู่มือมาตรฐานความปลอดภัยการจัดเก็บสารเคมีอันตราย ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย
 

ลักษณะของถังเก็บสารเคมี

ลักษณะของถังเก็บสารเคมีโดยทั่วไปจะต้องมีการออกแบบและผลิตให้มีความปลอดภัยและทนทาน ไม่เปลี่ยนสภาพ ไม่ผุกร่อนได้ง่าย ๆ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมี โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งวัสดุที่ใช้ในการผลิตถังเก็บสารเคมีได้ 4 ประเภทหลัก ๆ คือ 

  1. ถังพลาสติก เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีน้ำหนักเบา ราคาถูก สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้หลายชนิด อายุการใช้งานยาวนาน โดยนิยมใช้เม็ดพลาสติก HDPE, LDPE, XLPE มาผลิตถังเก็บสารเคมี 
  2. ถังโลหะ โดยมากจะผลิตจากสเตนเลส เป็นถังที่ทนทานต่อการกัดกร่อนและแรงกระแทกมากกว่า แต่อาจจะไม่เหมาะกับสารเคมีบางชนิดที่กัดกร่อนโลหะได้  และมีน้ำหนักที่หนักกว่าถังพลาสติก และถังไฟเบอร์กลาส
  3. ถังไฟเบอร์กลาส ทนต่อการกัดกร่อนและความร้อนได้ดี ไม่เป็นสนิม แข็งแรงทนทาน เบากว่าถังโลหะและคอนกรีต 
  4. ถังคอนกรีต เป็นถังเก็บสารเคมีที่ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน โดยมากมักจะมีการบุด้วยวัสดุอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี 

อย่างไรก็ตาม การเลือกถังเก็บสารเคมีให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ควรจะพิจารณาสารเคมีที่บรรจุเป็นสำคัญ เพื่อเลือกลักษณะของถังเก็บสารเคมีที่ตอบโจทย์การใช้งาน

 

การเลือกถังเก็บสารเคมีให้ปลอดภัย

  • เลือกถังเก็บสารเคมีที่ทนทานต่อสารเคมีอันตราย ไม่กัดกร่อน หรือเป็นพิษ โดยให้เราพิจารณาจากสารเคมีที่ใส่เป็นสำคัญ
  • เลือกถังที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วไหลได้ง่าย 
  • สามารถติดตั้งได้ปลอดภัย สำหรับถังเก็บสารเคมีบางประเภทจะต้องคำนึงถึงการติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันฟ้าผ่า และอุปกรณ์ควบคุมการทำงานและความปลอดภัย

เม็ดพลาสติก HDPE สำหรับผลิตถังเก็บสารเคมี

ถังเก็บสารเคมีจากพลาสติก HDPE มีข้อดีอย่างไร

InnoPlus แบรนด์เม็ดพลาสติกคุณภาพสูง จาก GC เราได้พัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก HDPE สำหรับผลิตถังพลาสติกบรรจุสารเคมีโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่จากกระบวนการเป่าขึ้นรูป มุ่งเน้นที่การผลิตบรรจุภัณฑ์ ขนาด 20 ลิตร ขึ้นไป มีหลากหลายเกรดผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ได้ตามธุรกิจของท่าน ได้แก่

ขนาดบรรจุของถัง เกรดผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกที่แนะนำ
20-100 ลิตร InnoPlus HD7200B
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 ลิตร InnoPlus HD8200B และ HD9100B
มากกว่า 200 ลิตร InnoPlus HD7200B / HD7800B และ HD8200B
ไม่เกิน 1,000 ลิตร โดยเฉพาะ ถัง IBC หรือ Intermediate Bulk Container InnoPlus HD7808B


โดยผลิตภัณฑ์พลาสติก InnoPlus แต่ละเกรดข้างต้นเป็นเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูงเป็นพิเศษ ขึ้นรูปได้ง่าย และทนต่อสภาวะแวดล้อมสูง โดยมีจุดเด่นดังต่อไปนี้

  • เหนียว ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน
  • แข็งแรง ทนทาน ต่อการใช้งานในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ
  • ทนต่อการกัดกร่อน ปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นกรด ด่าง น้ำมัน และสารละลายเคมีต่าง ๆ 
  • สามารถใส่สารเคมีได้ทุกประเภท ทั้งอาหาร ยา ปุ๋ยหมัก สารเคมีทั่วไป และสารเคมีอันตราย 

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาเม็ดพลาสติกใช้ผลิตถังบรรจุสารเคมี หากต้องการคุณเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงและมีมาตรฐานระดับสากล เรา GC เป็นผู้เชี่ยวชาญและพัฒนานวัตกรรมเม็ดพพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำ สารเคมี และอื่น ๆ พร้อมดูแลด้วยบริการครบวงจร ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Chemical storage tanks – what are your options?. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 จาก https://industrialplastics.com.au/tank-storage.
  2. Chemical Storage Tanks: A Complete Guide. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 จาก  https://ironcladenvironmental.com/2023/07/10/chemical-storage-tanks-a-complete-guide/.