รีไซเคิล
ขยะพลาสติก: ความท้าทายในระดับโลกและในประเทศไทย
ประมาณการ:
- ขยะพลาสติก 270 ล้านตันจาก 192 ประเทศในปี 2553
- ประมาณ 12.7 ล้านตันที่ถูกทิ้งสู่มหาสมุทรในทุกปี
- ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก
- ประเทศไทยทิ้งขยะลงสู่มหาสมุทรมากกว่า 400,000 ตันต่อปีโดยจัดการอย่างไม่ถูกต้อง
ฉลาก GC Upcycling คืออะไร?
พลาสติกใช้แล้วถูกนำไปรีไซเคิลเป็นสินค้าแฟชั่นและของใช้ในชีวิตประจำวันภายใต้เครื่องหมายการค้า "Upcycling by GC" ขวด PET ประมาณ 505,000 ขวด ถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 44.69 ตัน เทียบเท่าได้กับการปลูกต้นไม้ 4,965 ต้น
กระบวนการของ GC Upcycling
ฉลาก GC Upcycling คืออะไร?
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดวัฏจักรชีวิต ซึ่งแหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการในภาคอุตสาหกรรมหรือกสิกรรม เป็นต้น
คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการวัดผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้คือโอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าวงการไอทีของเราก็มีส่วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรื่องของคาร์บอนฟุตพริ้นท์และร่วมมือกันลดมลพิษให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้